Facebook Twitter Google+ RSS Sitemap

Sunday, January 19, 2014

Planting: ข้อควรและไม่ควรทำตามแนวทฤษฏีใหม่

ข้อควรทำตามแนวทฤษฏีใหม่

  1. ปรับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพแวดล้อม (30:30:30:10)
  2. ต้องปลูกข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี
  3. ควรศึกษาสภาพดินก่อนดำเนินการขุดสระ ว่าจะสามารถเก็บกักน้ำได้หรือไม่ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่
  4. ควรนำหน้าดินจากการขุดสระน้ำ ไปถมไว้ในบริเวณที่จะทำการเพาะปลูก
  5. ควรปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร บริเวณที่ว่างรอบบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครัวเรือน
  6. ควรเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลต่อกันและกัน เช่น ไก่ เป็ด หรือหมู บริเวณขอบสระน้ำ หรือบริเวณบ้าน
  7. ควรเลี้ยงปลาในสระน้ำ เพื่อการบริโภคอาหารโปรตีนแล้ว และยังสามารถขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย
  8. ควรปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายรอบคันขอบสระน้ำ
  9. ควรมีความสามัคคีในท้องถิ่น โดยช่วยกันทำแบบ "ลงแขก" จะทำให้ประสบผลสำเร็จ
  10. ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนนายอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


ข้อไม่ควรทำตามแนวทฤษฏีใหม่

  1. อย่าคิดว่าถ้ามีพื้นที่เกษตรน้อยกว่าหรือมากกว่า 15 ไร่ จะทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้
  2. ไม่ควรเสียดายที่ดินส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาขุดเป็นสระน้ำ และถ้ามีสระน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องขุดสระใหม่ เพียงแต่ปรับปรุงให้สามารถเก็บกักน้ำได้
  3. อย่าทำลายหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ในขณะ ขุดสระน้ำ
  4. ไม่ควรปลูกพืชหรือไม้ยืนต้นที่ต้องการน้ำมากบริเวณคันขอบสระน้ำ
  5. ไม่ควรปลูกพืชเพียงชนิดเดียว
  6. หากดำเนินการด้านการเกษตรกรรมอื่นใดได้ผลอยู่แล้ว ไม่ควรปรับเปลี่ยนมาทำทฤษฎีใหม่ เพราะไม่จำเป็น
  7. หากสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสม ทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป
  8. อย่าท้อถอยและเกียจคร้าน

Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth9.html

Planting: ตัวอย่างพืชที่ควรปลูก สัตว์ที่ควรเลี้ยง ตามแนวทฤษฏีใหม่

ตัวอย่างพืชที่ควรปลูก สัตว์ที่ควรเลี้ยง ตามแนวทฤษฏีใหม่


  • ไม้ผลและผักยืนต้น
  • มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน เป็นต้น 
  • ผักล้มลุกและดอกไม้
  • มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น 
  • เห็ด
  • เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น 
  • สมุนไพรและเครื่องเทศ
  • หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กระเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น 
  • ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง
  • ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิบตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น 
  • พืชไร่
  • ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มัน สำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น 
  • พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ พืชไร่เหล่านี้ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น
  • พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน
  • ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียว และถั่วพุ่ม เป็นต้น 
  • หมายเหตุ
  • พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี หากเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน และให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
  • สัตว์เลี้ยง
  • สัตว์น้ำ เช่น ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้ 
  • สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้

Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth6.html

Planting: ข้อสำคัญที่ควรพิจารณาของทฤษฏีใหม่

ข้อสำคัญที่ควรพิจารณาของทฤษฏีใหม่

  1. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย
  2. การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะสภาพดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ฉะนั้น จะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน 
  3. ขนาดของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วนนี้ (30:30:30:10) ไปปรับใช้ได้
  4. การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลา หรือสัตว์อื่นๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก
  5. ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย 
  6. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี ซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล


เงื่อนไขหรือปัญหาในการดำเนินงาน 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538   ณ ศาลาดุสิดาลัย มีความตอนหนึ่ง ดังนี้

"...การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่ายๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ประชาชนทราบถึงทฤษฎีใหม่นี้กว้างขวางและแต่ละคนก็อยากได้ ให้ทางราชการขุดสระแล้วช่วย แต่มันไม่ใช่สิ่งง่ายนัก บางแห่งขุดแล้วไม่มีน้ำ แม้จะมีฝนน้ำก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันรั่ว หรือบางทีก็เป็นที่ที่รับน้ำไม่ได้ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...ฉะนั้น การที่ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิบัติเพื่อหาน้ำให้แก่ราษฎร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย ต้องช่วยกันทำ..."

Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth5.html

Planting: ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2-3

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ฉะนั้น เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สามต่อไป

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง 

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้
  1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) 

    • เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก 

  2. การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต) 

    • เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย 

  3. ความเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) 

    • ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง 

  4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) 

    • แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

  5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) 

    • ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง 

  6. สังคมและศาสนา
  • ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว 

กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ


ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ

  • เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) 
  • ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) 
  • เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง) 
  • ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth3.html

Planting: ทฤษฏีใหม่ขั้นต้น

Planting: ทฤษฏีใหม่ขั้นต้น

















การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน 

ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง
  • พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ)
  • พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ 
  • พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย  (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
  • พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)

หลักการและแนวทางสำคัญ 
  1. เป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่าย
  2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้นจึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
  3. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี

  4. ดังนั้น หากมีพื้นที่ 15 ไร่ จึงมีสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
    • นา 5 ไร่ 
    • พืชไร่พืชสวน 5 ไร่ 
    • สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร จุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น ปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง 
    • ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่

  5. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือหากพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้

Reference:
  • http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth2.html
  • http://www.haii.or.th/wiki84/index.php/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88

Planting: ทฤษฏีใหม่


  • ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ
  • การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูก ได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ 
  • ระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ 
  • ส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
  • ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
  • ทฤษฎีใหม่
  • มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร
  • มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี 
  • มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง 3 ขั้นตอน

Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/index_t.html

Planting: บันได 9 ขั้น เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน

Planting: บันได 9 ขั้น เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน
Planting: บันได 9 ขั้น เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน

บันได 9 ขั้น เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน

ขั้นที่ 1 พอกิน
  • พื้นฐานที่สุดของมนุษย์ คือ ความต้องการปัจจัย 4 และประการสำคัญที่สุดของปัจจัย 4 คือ อาหาร ขั้นที่ 1 ของแนวทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนคือ ตอบคำถามให้ได้ว่า “ทำอย่างไรจึงจะพอกิน” โดยให้ความสำคัญกับ ข้าวปลาอาหาร ไม่ให้ความสำคัญกับเงิน ซึ่งเป็นเพียงแค่ “ตัวกลาง” ในการแลกเปลี่ยนตามมาตรฐานสากล โดยยึดหลักว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิของจริง”
  • เกษตรกรต้องเริ่มจากการอยู่ให้ได้โดยไม่ใช้เงิน มีอาหารพอมี พอกิน ด้วยการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ให้พอกิน ชาวนาต้องเก็บข้าวไว้ให้เพียงพอสำหรับการมีกินทั้งปี ไม่ขายข้าวเปลือกเพื่อนำเงินไปซื้อข้าวสาร
  • นอกจากนั้น หัวใจสำคัญของ “พอกิน” ยังมีความหมายรวมไปถึงความปลอดภัยในอาหาร กินอย่างไรให้มีสุขภาพดี ไม่สะสมเอาความเจ็บไข้ได้ป่วยไว้ในร่างกาย นี่คือความหมายของบันไดขั้นที่ 1 ที่เกษตรกรต้องก้าวข้ามให้ได้

ขั้นที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น
  • บันไดขั้นที่ 2-4 พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เกิดขึ้นได้พร้อมกัน ด้วยคำตอบเดียวคือ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ซึ่งป่า 3 อย่างจะให้ทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สมุนไพรสำหรับรักษาโรค ทั้งโรคคน โรคพืช โรคสัตว์ ให้ไม้สำหรับทำบ้านพักที่อยู่อาศัย และให้ความร่มเย็นกับบ้าน กับชุมชน กับโลกใบนี้ ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรไทย  ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้จริง และยังสามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาหนี้สินซึ่งสะสมพอกพูนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ปัญหาความขาดแคลนนำ ภัยแล้ง ทั้งหมดล้วนแก้ไขได้จากแนวคิดป่า ๓ อย่างประโยชน์ 4 อย่างขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

บันไดขั้นที่ 5-9 คือ เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า

ขั้นที่ 5-6 บุญและทาน
  • เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมั่นว่าสังคมไทยเป็นสังคมบุญ สังคมทาน ไม่เน้นการแลกเปลี่ยนทางการค้า แต่เน้นการทำบุญ ไม่เน้นการสะสมเป็นของส่วนตัว แต่เน้นการให้ทานและสะสมโดยมอบให้เป็นทรัพย์สินส่วนรวมโดยวัด หรือศาสนสถานตามแต่ละศาสนาเป็นศูนย์กลาง เป็นการฝึกจิตใจ ให้ละซึ่งความโลภ และกิเลสในการอยากได้ ใคร่มี ลดปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้น ตามความหมายอันลึกซึ้งของคำ “Our Loss is Our Gain” หรือ “ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี” การให้ไปคือได้มา และเชื่อมั่นในฤทธิ์ของทาน ว่าทานมีฤทธิ์จริง และจะส่งผลกลับมาเป็นเพื่อน เป็นกัลยาณมิตร เป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือกันในทุกสถานการณ์ แม้ในวันที่โลกนี้ประสบกับวิกฤตการณ์

ขั้นที่ 7 เก็บรักษา
  • ขั้นต่อไปหลังจากสามารถพึ่งตนเองได้ พอมี พอเหลือทำบุญ ทำทานแล้ว คือการรู้จักเก็บรักษา ซึ่งเป็นการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และการรู้จักเก็บรักษา ยังเป็นการสร้างรากฐานของการเอาตัวรอดในเวลาเกิดวิกฤตการณ์ โดยยึดแนวทางตามวิถีชีวิตชาวนาสมัยก่อนซึ่งเก็บรักษาข้าวไว้ในยุ้งฉางเพื่อให้พอมีกินข้ามปี คัดเลือกและเก็บรักษา “ข้าวพันธุ์” ไว้สำหรับเป็นพันธุ์ข้าวในปีต่อไป ซึ่งผิดกับวิถีชาวนาในปัจจุบันที่ใช้วิธีการขายข้าวทั้งหมด แล้วนำเเงินที่ขายได้ไปซื้อพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกในปีต่อไป ส่งผลให้เกิดการขาดความมั่นคงและเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายความประมาท เพราะหากเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ย่อมหมายถึงปัญหาหนี้สินและการขาดแคลนพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในปีต่อไป
  • นอกจากเก็บพันธุ์ข้าวแล้ว ยังเน้นให้รู้จักวิธีการถนอมอาหาร การสะสมอาหารไว้กินในยามหน้าแล้ง ด้วยการแปรรูปอาหารหลากชนิด อาทิ ปลาร้า ปลาแห้ง มะขามเปียก พริกแห้ง หอม กระเทียม เพื่อเก็บไว้กินในอนาคต

ขั้นที่ 8 ขาย
  • เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจการค้า แต่ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจหลังเขา การค้าขายสามารถทำได้ แต่ทำภายใต้การรู้จักตนเอง รู้จักพอประมาณ และทำไปตามลำดับ โดยของที่ขาย คือ ของที่เหลือจากทุกขั้นแล้วจึงนำมาขาย เช่น ทำนาอินทรีย์ ปลูกข้าวปลอดสารเคมี ไม่ทำลายธรรมชาติ ได้ผลผลิตเก็บไว้พอกิน เก็บไว้ทำพันธุ์ ทำบุญ ทำทาน แล้วจึงนำมาขายด้วยความรู้สึกของการ “ให้” อยากที่จะให้สิ่งดีๆ ที่เราปลูกเอง เผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆ ได้รับสิ่งดีๆ นั้นๆ ด้วย 
  • การค้าขายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการค้าที่มองกลับด้าน “เพราะรักคุณจึงอยากให้คุณได้รับในสิ่งดีๆ” พอเพียงเพื่ออุ้มชู เผื่อแผ่ แบ่งปัน ไปด้วยกัน

ขั้นที่ 9 (เครือ) ข่าย กองกำลังเกษตรโยธิน
  • คือการสร้างกองกำลังเกษตรโยธิน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งประเทศ เพื่อขยายผลความสำเร็จตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิวัติแนวคิด และวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ในชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤต 4 ประการ อันได้แก่ วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ (Environmental Crisis) วิกฤตการณ์โรคระบาดทั้งในคน สัตว์ พืช (Epidemic Crisis) วิกฤตเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง (Economic Crisis) วิกฤตความขัดแย้งทางสังคม/สงคราม (Political/Social Crisis)


Reference: http://group.wunjun.com/79bangsaphan/topic/235691-6132





Sunday, January 12, 2014

Cooking: ต้มจับฉ่าย

Cooking: ต้มจับฉ่าย














ต้มจับฉ่าย

ส่วนผสม

  • รากผักชี 2 ชิ้น
  • กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
  • กระดูกอ่อนหมูเป็นชิ้น 200 กรัม
  • หัวไชเท้า ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น 1 หัว
  • น้ำมันพืชสำหรับผัด
  • เห็ดหอมสด 5 ดอก
  • ผักคะน้า, ผักกาดขาว, กะหล่ำปลี, ใบขึ้นฉ่าย, ดอกกะหล่ำ, กวางตุ้ง (หรือผักตามชอบ) หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ น้ำหนักรวม 500 กรัม
  • ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

  • ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่กระดูกอ่อนหมูลงต้มนานประมาณ 20 นาที จากนั้นใส่หัวไชเท้าลงต้มจนเดือด ลดไฟอ่อน เตรียมไว้
  • โขลกรากผักชี กระเทียม และพริกไทยเข้าด้วยกัน เตรียมไว้
  • ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟปานกลางพอร้อน ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงผัดจนหอม
  • ใส่เห็ดหอมลงผัดจนสุก ลดไฟลง
  • ใส่ผักที่เตรียมไว้ลงผัด ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส และน้ำตาลปี๊บ ผัดผสมให้เข้ากันจนผักเริ่มสุก ยกลงจากเตา
  • ตักผักที่ผัดไว้ลงในหม้อน้ำซุป นำขึ้นตั้งไฟ ใช้ไฟปานกลาง เคี่ยวจนผักสุก และนิ่ม ชิมรสตามชอบ ตักใส่ถ้วย พร้อมรับประทาน


Reference: http://cooking.kapook.com/view76320.html

Cooking: พาสต้าผัดต้มยำแห้งกับปลาแซลมอน

Cooking: พาสต้าผัดต้มยำแห้งกับปลาแซลมอน















พาสต้าผัดต้มยำแห้งกับปลาแซลมอน

ส่วนผสม

  • เส้นพาสต้าต้มสุก
  • ข่าหั่นแว่น
  • ตะไคร้หั่นแฉลบ
  • ใบมะกรูดซอย
  • พริกขี้หนูหั่นแฉลบ
  • มะนาว
  • ผักชี
  • เห็ดฟาง
  • มะเขือเทศ
  • น้ำพริกเผา
  • นมข้นจืด
  • น้ำปลา
  • น้ำตาลทราย
  • ปลาแซลมอน
  • น้ำมันมะกอก
  • เกลือป่น
  • พริกไทย
  • พริกขี้หนูทอด


วิธีทำ

  • ทาน้ำมันมะกอกลงบนชิ้นปลา โรยเกลือป่น และพริกไทยดำจนทั่วชิ้น นำลงจี่ในกระทะที่อุ่นร้อนจนสุกเหลืองเตรียมไว้
  • ใส่น้ำมันในกระทะพอร้อน ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกขี้หนูลงผัดให้หอม
  • ใส่เส้นที่ต้มสุกแล้วลงไป ตามด้วยเห็ดฟาง และมะเขือเทศ ปรุงรสด้วยน้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำตาลทราย ผัดให้เข้ากัน (เติมน้ำได้เล็กน้อยค่ะ) ใส่ผักชี เติมน้มข้นจืด ผัดให้เข้ากันปิดไฟ แล้วเติมน้ำมะนาว
  • ตักใส่จาน เสิร์ฟคู่กับปลาแซลมอนที่เตรียมไว้ โรยหน้าด้วยพริกขี้หนูทอด


Reference: http://cooking.kapook.com/view79533.html

Wednesday, January 1, 2014

Cooking: แกงป่าเห็ด

Cooking: แกงป่าเห็ด
















แกงป่าเห็ด

ส่วนผสม

  • พริกแกงเผ็ด
  • กุ้งแกะผ่าหลัง
  • เนื้ออกไก่
  • ถั่วฝักยาวหั่นท่อน
  • แครอท
  • เห็ดเข็มทอง เห็ดนางฟ้า
  • ข่าหั่นเป็นแว่น
  • ตะไคร้
  • ใบมะกรูด
  • ใบกระเพรา
  • กระชายซอยฝอยๆ
  • พริกชี้ฟ้าแดง
  • น้ำปลา
  • น้ำตาลทราย
  • น้ำเปล่า

วิธีทำ

  • เปิดเตาตั้งไฟค่อนข้างแรง
  • นำน้ำเปล่า 1 ½ ถ้วย ใส่ในหม้อ รอจนน้ำเดือด
  • นำพริกแกงใส่ลงไป คนให้พริกแกงละลายจนทั่วจนเดือด
  • ใส่เนื้อไก่ และกุ้งจนสุก
  • เมื่อน้ำเดือดจึงใส่เห็ดเข็มทอง ถั่วฝักยาวแครอท กระชาย ข่า เห็ดนางฟ้า มะเขือเปราะ (มะเขือผ่าผลละ 4 ชิ้น แช่น้ำเกลือ) ตามด้วยใบมะกรูด
  • ทิ้งไว้ให้เดือดอีกครั้ง แล้วคนให้เข้ากัน ใส่ผักทุกอย่างหมดแล้ว (อย่าพึ่งคน ถ้าคนเลยจะทำให้มะเขือดำ)
  • พอน้ำแกงเดือดแล้ว เราจึงคนให้ผักทุกอย่างเข้ากัน ปรุงรสด้วย น้ำตาลน้ำปลา เพิ่มความหอมด้วย ใบกระเพรา คนให้เข้ากัน

Reference: http://pantip.com/topic/31453549