- ปรับอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพแวดล้อม (30:30:30:10)
- ต้องปลูกข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือนตลอดทั้งปี
- ควรศึกษาสภาพดินก่อนดำเนินการขุดสระ ว่าจะสามารถเก็บกักน้ำได้หรือไม่ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่
- ควรนำหน้าดินจากการขุดสระน้ำ ไปถมไว้ในบริเวณที่จะทำการเพาะปลูก
- ควรปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร บริเวณที่ว่างรอบบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครัวเรือน
- ควรเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลต่อกันและกัน เช่น ไก่ เป็ด หรือหมู บริเวณขอบสระน้ำ หรือบริเวณบ้าน
- ควรเลี้ยงปลาในสระน้ำ เพื่อการบริโภคอาหารโปรตีนแล้ว และยังสามารถขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวอีกด้วย
- ควรปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายรอบคันขอบสระน้ำ
- ควรมีความสามัคคีในท้องถิ่น โดยช่วยกันทำแบบ "ลงแขก" จะทำให้ประสบผลสำเร็จ
- ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนนายอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อไม่ควรทำตามแนวทฤษฏีใหม่
- อย่าคิดว่าถ้ามีพื้นที่เกษตรน้อยกว่าหรือมากกว่า 15 ไร่ จะทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้
- ไม่ควรเสียดายที่ดินส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาขุดเป็นสระน้ำ และถ้ามีสระน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องขุดสระใหม่ เพียงแต่ปรับปรุงให้สามารถเก็บกักน้ำได้
- อย่าทำลายหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ในขณะ ขุดสระน้ำ
- ไม่ควรปลูกพืชหรือไม้ยืนต้นที่ต้องการน้ำมากบริเวณคันขอบสระน้ำ
- ไม่ควรปลูกพืชเพียงชนิดเดียว
- หากดำเนินการด้านการเกษตรกรรมอื่นใดได้ผลอยู่แล้ว ไม่ควรปรับเปลี่ยนมาทำทฤษฎีใหม่ เพราะไม่จำเป็น
- หากสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสม ทำทฤษฎีใหม่ไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป
- อย่าท้อถอยและเกียจคร้าน
Reference: http://www.chaipat.or.th/chaipat_old/ntheory/thai/nth9.html
No comments:
Post a Comment