Facebook Twitter Google+ RSS Sitemap

Monday, December 10, 2012

Bike: รู้จักเฟรมจักรยานก่อนเลือกซื้อ

วัสดุที่ใช้ประกอบเฟรมจักรยาน มีผลต่อการใช้งานและดูแลรักษา วัสุดที่ใช้ประกอบเฟรมจักรยานแบ่งออกเป็นดังนี้

ไทยทาเนียม (Titanium)
  • ไททาเนียม Titanium) เป็นธาตุในโลหะที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1797 โดย William Gregor เป็นโลหะที่มีแสงเป็นประกายขาวคล้ายเงิน มีความทนทานต่อการสุกร่อนเป็นเยี่ยม ดัดโค้งงอได้ตามต้องการเมื่อร้อน มีน้ำหนักเบา เมื่อทำให้เป็นวัตถุผสม มีความแข็งแรง ทนต่อการบิดดึงได้ดีมาก แต่ขึ้นรูปหรือเชื่อมต่อให้สวยงามได้ยาก ต้องใช้ผู้ชำนาญและอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อชนิดพิเศษ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในการทำชิ้นส่วนของเครื่องบิน ยานอวกาศ เรือดำน้ำ ดาวเทียม รวมถึงรากฟันเทียม และบางส่วนของขีปนาวุธ ไททาเนียมเป็นวัตถุต้องห้ามที่ต้องมีใบอนุญาตในการซื้อขาย มีราคาแพง ไม่มีขายตามร้านค้าวัสดุทั่วไปเหมือนเหล็กหรืออลูมิเนียม
  • เฟรมจักรยานไททาเนียมมีอยู่ 2 เกรด คือ ท่อที่ผลิตในอเมริกา กับท่อที่ผลิตในประเทศจีนและรัสเซีย ข้อแตกต่างกันที่ต้นทุนการผลิตและคุณภาพ ราคาจึงแตกต่างกันมาก โดยปกติไททาเนียมจะมีส่วนผสมของโลหะสองชนิตามอัตราส่วนดังนี้ คือ
  • 3AL/2.5V = (Aluminium = 3 % / Vanadium = 2.5 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titanium
  • 4AL/6V = (Aluminium = 4 % / Vanadium = 4 % ) ส่วนที่เหลือเป็น Titaniuam
  • ท่อไททาเนียมที่ทำจากรัสเซียมีทั้งสองชนิดเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบคุณภาพแล้วพบว่าท่อของรัสเซียมีคุณภาพด้อยกว่าในด้านความทนทานต่อแรงบิดดึงที่ทำในอเมริกาถึง 40% 
  • ส่วนท่อไททาเนียมที่ผลิตในประเทศจีนใช้สวนผสม 3AL/2.5V ถึงแม้จะมีส่วนผสมทางเคมีอยู่ในระดับเดียวกันกับมาตรฐานทั่วไป แต่พบว่าของจีนยังมีส่วนผสมอื่นๆ ปนอยู่ ทำให้ความแข็งแรงด้อยไปกว่าที่ผลิตในรัสเซียเสียอีก จึงลงความเห็นว่าท่อไททาเนียมทั้งที่ผลิตในรัสเซียและผลิตในประเทศจีน ยังมีคุณภาพและน้ำหนักไม่ดีเท่ากับที่ผลิตในอเมริกา
  • ผู้ผลิตเฟรมจักรยานหลายรายที่ใช้ท่อไททาเนียมที่ทำในประเทศรัสเซียและจีนต้องใช้กลยุทธ์ในการขายสินค้าของตนโดย "รับประกันคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน" แต่ถ้าผู้ซื้อมีปัญหาได้รับการเปลี่ยนเฟรมไปแล้ว ปัญเดิมก็จะตามาอีก
  • ในสหรัฐอเมริกา Sandvik คือผู้ผลิตท่อไททาเนียมที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับการนำมาทำเฟรมจักรยาน จึงมีการประมูลสิทธิ์ในการซื้อท่อเพื่อไปใช้ในการทำจักรยานของตนแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม Sandvik ไม่ใช่ผู้ผลิตท่อไททาเนียมรายเดียวในอเมริกา เช่น เฟรมชั้นยอดของ Merlin กลับไปใช้ท่อไททาเนียมของ Haynes ที่ผลิตในเมือง Arcadia รัฐ Louisiana ซึ่งเป็นแหล่งผลิตท่อไททาเนียมระดับท๊อป ราคาแพง คุณภาพเยี่ยมอีกยีห้อหนึ่ง

เหล็ก (Steel)
  • เหล็กเป็นวัสดุดั้งเดิมในการใช้ทำตัวถังจักรยาน ให้ความรู้สึกดีในการขับขี่ ควบคุมง่าย ขี่สนุก ไม่แข็งกระด้าง แข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี
  • ข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมาก ลำบากในการดูแลรักษา เพราะเป็นสนิมง่าย แต่ก็ยังมีผู้ผลิตที่ใช้เหล็กคุณภาพดี ทำรถจักรยานออกมาวางจำหน่ายไปไม่น้อยดีเดียว เช่น Breezer และ Voodoo และมีนักแข่ง และผู้ที่นิยมจักรยานไม่น้อยทีเดียวที่นิยมชมชอบ กับตัวถังจักรยานที่ผลิตจากเหล็ก แต่ด้วยคุณสมบัติของเหล็กตามที่ได้กล่าวไว้ว่ามีน้ำหนักมาก จึงไม่ค่อยมีนักแข่งนิยมใช้กันมากนัก เพราะยังมีวัสดุประเภทอื่นที่มีคุณภาพใกล้เคียงหรือดีกว่าใช้ในการทำตังถังจักรยาน ประกอบกับข้อได้เปรียบที่มีน้ำหนักน้อยกว่าตัวถังที่ทำด้วยเหล็ก ด้วยเหตุผลนี้เหล็กจึงไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตจักรยานในเชิงการกีฬา เหล็กจึงเป็นที่นิยมในการผลิตตัวถังจักรยานในเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปเสียมากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของมัน เหล็กจึงยังสามารถครองตลาดจักรยาน

โครโมลี่ (Chromoly)
  • โลหะผสมระหว่างเหล็กกับโมลิบดีนั่ม (Molybdenum) น้ำหนักเบากว่าเหล็ก ท่อโครโมลี่ดีๆ บางยีห้อมีน้ำหนักไม่ต่างจากไททาเนี่ยม
  • จุดเด่นของโครโมลี่ีคือ ขี่สนุก แต่ข้อเสียคือ ดูแลรักษาค่อนข้างยากพอสมควร เป็นสนิมง่ายเหมือนเหล็ก ถึงอย่างไรก็ยังเป็นที่นิยมของบรรดานักจักรยานที่แท้จริง หรือนักแข่งมากพอสมควร ท่อโครโมลี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Ritchey / Reynolds และ Columbus เฟรมโครโมลี่ ราคาไม่แพงนัก ที่นิยมใช้กันเห็นจะเป็นรถของ KHS โดยใช้ท่อของ True Temper

อลุมิเนียม (Aluminium)
  • เฟรมยอดนิยม เพราะมีน้ำหนักเบา ดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นสนิม (แต่เกิดการผุกร่อนได้ อันเกิดจากอลูมิเนียมอ๊อกไซด์) มีให้เลือกหลายเกรด เช่น 6061 / 7005 / หรือ Elan3. / Elite สูตรผสมของท่อ Easton
  • รถเฟรมอลูมิเนียมขี่ไม่ค่อยนิ่มนวลเหมือนเฟรมชนิดอื่น ค่อนข้างแข็งกระด้างเมื่อขับขี่ในทางวิบาก แต่กลับตรงกันข้ามขี่ได้ดีในทางเรียบและทางสูงชัน ราคาไม่แพง มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด รูปร่างและสีสรรคสวยงามสดุดตาผู้พบเห็น
  • ข้อควรระวังในการดูแลรักษา เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถเกิดการผุกร่อนได้ด้วยหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ ไอน้ำจากน้ำเค็ม สำหรับผู้ที่อยู่ติดทะเลควรหมั่นรักษาเช็ดทำความสะอาดด้วยทุกครั้งหลังจากการใช้งาน และที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ เหงื่อจากตัวเราในระหว่างการขับขี่ หยดเหงื่อที่ไปโดนเฟรมอลูมิเนียม หากเราละเลยก็อาจจะทำให้เฟรมของเราเกิดการผุกร่อนได้เช่นกัน

คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
  • อีกเทคโนโลยีที่คิดค้นมาเพื่อทำเฟรมจักรยาน และประสบความสำเร็จมานานแล้ว และเป็นที่นิยมชื่นชอบของบรรดานักจักรยานโดยทั่วไปเช่นกัน เพราะมีข้อดีของวัสดุชนิดนี้คือ มันสามารถทำให้แข็งกระด้างมากหรือน้อย ทำให้เบามาก หรือนำไปเสริมในบางจุดที่ต้องรับแรงกระแทกมากๆ ได้ นอกจากนั้นยังทนต่อการกัดกร่อนสูง
  • ข้อเสีย คือ ราคารแพง เชื่อมต่อยาก ดังนั้น ตามข้อต่อที่รับแรงกระแทกสูงๆ จะเกิดปัญหาได้ง่าย เขาจึงเลือกที่จะนำคาร์บอนไฟเบอร์ไปทำตัวถังประเภทโมโนค็อด (monocogne) หรือเฟรมชิ้นเดียวแทน ดังที่เห็นกันมากในรถฟูลซัสเพนชั่นทั่วไป

Reference: http://web.agri.cmu.ac.th/agbike/bikenew/frame.htm

No comments:

Post a Comment